
Knowledge
วิธีการฉาบผนังปูน อย่างถูกต้อง

- aFDas aFASf
- May 22, 2020
- 5:33 am
- May 22, 2020
เมื่อพูดถึงบ้าน องค์ประกอบสำคัญของบ้านอย่างหนึ่งก็คือ “ผนัง” ไม่ว่าจะเป็นบ้านแบบไหน สไตล์ไหน ต้องมี การฉาบผนังปูน พูดถึงงานฉาบ ถือเป็นการตกแต่งผิวผนังให้เรียบร้อย ที่เป็นงานหลักในการก่อสร้างบ้าน ที่เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้บ้านสมบรูณ์ และสวยงามมากขึ้น โดยเป็นการปกปิดชั้นอิฐที่ก่อไว้ ซึ่งจะช่วยทำหน้าที่ป้องกันความชื้นระหว่างสองด้านของผนัง สำหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนนี้ค่อนข้างมาก จึงมีปูนซีเมนต์สูตรต่าง ๆ สำหรับปิดผิวที่มีความเรียบเนียน สวยงามมากเป็นพิเศษ
ซึ่งในงานฉาบปูนก็จะมีขั้นตอนการทำงานอยู่หลายขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพและความเหมาะสมของพื้นผิวผนังที่จะทำการฉาบปูน เช่น ขั้นตอนการจับเซี้ยม, จับปุ่ม, การสลัดดอก,กรุตาข่าย, ขึ้นปูน (ฉาบปูน), ปาดสามเหลี่ยม, เสริมปูน, ปั่นตีน้ำ, ลงฟอง, ปัดด้วยไม้กวาด เป็นต้น โดยวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผนังเรียบเนียนยิ่งขึ้น เพราะหลังจากช่างตีน้ำ(สลัดน้ำ)และปั่นผนังให้เรียบเสร็จแล้ว ผิวผนังก็จะเรียบแบบด้านๆและยังหลงเหลือร่องรอยที่ไม่เรียบเนียนเล็ก ๆ น้อย ๆ ช่างฯก็จะทำการเก็บงานอีกครั้งโดยการใช้ฟองน้ำหมาดๆปั่นในขณะที่ปูนยังหมาดอยู่ ก็จะช่วยเก็บรอยหรือผิวที่ไม่เรียบ ให้เรียบเนียนยิ่งขึ้น โดยเรามาดูวิธีที่ถูกต้องของการฉาบปูนว่าควรทำอย่างไรบ้าง
สิ่งแรกคือเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สำหรับ การฉาบผนังปูน โดยสิ่งที่ต้องเตรียม มีดังต่อไปนี้
- ปูนซีเมนต์สำหรับงานฉาบ
- เกียงไม้ และเกรียงพลาสติก
- ฟองน้ำ และแปรงสลัดน้ำ
- อุปกรณ์ผสมปูน
- ถังปูน
ขั้นตอนการฉาบ
- รอผนังที่ก่อเซ็ทตัวอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน โดยระหว่าง 7 วันนั้นให้มีการรดน้ำบ่มผนังอย่างต่อเนื่องด้วย
- เช็คสภาพผิวผนังว่าอิฐยึดเกาะกันดี ผนังไม่โอนเอนเคลื่อนไหวได้ หากผนังมีการโน้มเอียงหรือเว้ายุบ จนเกินกว่าที่ปูนฉาบจะปิดผิวและทำให้ได้ระดับเท่ากัน (เมื่อฉาบไม่เกิน 2.5 เซนติเมตร) ให้สกัดส่วนเว้าแอ่นออก เพื่อลดโอกาสหลุดล่อนจากการฉาบที่หนาเกินไป
- จับเซี้ยมและจับปุ่ม เพื่อเป็นการฉาบให้ได้ระดับ และความหนาที่เหมาะสม โดยสามารถดูได้จากภาพประกอบ ซึ่งนิยมใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท มาผสมกับทรายให้มีส่วนของปูนเข้มขนกว่าการใช้งานทั่วไป เรียกว่า ปูนเค็ม
- ติดลวดตะแกรง หรือกรงไก่ บริเวณมุมวงกบประตูและหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสแตกร้าวจากการยืดหดตัวของปูนซีเมนต์ รวมถึงรอยต่อของวัสดุต่างชนิด เช่น ระหว่างส่วนก่ออิฐกับเสาเอ็นและคานทับหลัง ระหว่างร่องการเดินท่อเดินสายไฟซึ่งปิดทับด้วยปูนแล้วกับส่วนก่ออิฐ
- ก่อนการฉาบ 1 วัน ให้มีการรดน้ำในช่วงเย็น จากนั้นก่อนทำการฉาบในวันถัดไปให้รดน้ำผนังในช่วงเช้า ทิ้งให้หมาดก่อนทำการฉาบ ห้ามฉาบขณะที่ผนังยังเปียกน้ำ เพราะจะทำให้ปูนไม่ยึดเกาะกับผนัง
- การบ่มผิว ควรมีการรดน้ำผนังอย่างต่อเนื่องไปอีกวันละอย่างน้อย 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 7 วัน หากอากาศร้อน มีแดดจัด หรือลมพัดแรง จนทำให้ผนังเสียน้ำเร็วเกินไป ควรเพิ่มการรดน้ำเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน และยืดระยะเวลาการลดออกไป อาจใช้การบังแดดลมด้วยการขึงผ้าใบช่วยในบริเวณที่สัมผัสกับอากาศที่รุนแรง
Share:

บทความอื่นๆ

